จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Java in Cloud Computing

Java in Cloud Computing



Cloud Computing คือ การทำคอมพิวเตอร์เสมือน หรือ การจำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยที่เราไม่ต้องมาติดตั้งหรือจัดการระบบเอง เพียงแต่ร้องขอไปทางบริษัทที่ให้บริการ Cloud เราก็จะได้ กลุ่มระบบที่ทำงานได้ทันที่ ซึ่ง เราสามารถกำหนดแนวทางของ Cloud ได้เองว่า จะให้เป็นแบบไหน ซึ่งปัจจุบันนี้มีให้บริการ Cloud มากมาย ซึ่งรวมทั้ง มีบริษัท ทำการพัฒนา Application บน Cloud ซึ่ง Java ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีการพัฒนาเพื่อใช้งานใน Cloud ใน Blog นี้ จะพูดถึงแนวทางในการพัฒนา Java เพื่อ ใช้ใน Cloud

สามารถไปอ่านบทความที่เกี่ยวกับ Cloud Computing เพิ่มเติมได้ที่ Cloud Computing

ผู้ให้บริการ Cloud
 
Amazon EC2 , เป็นระบบคอมพิวเตอร์เสมือนที่ให้คุณสามารถติดตั้งสิ่งที่คุณต้องการ ในระบบเสมือนจริงของคุณ EC2 ช่วยให้คุณสามารถควบคุมการทำงานต่างๆได้อย่างมากมาย แต่คุณยังต้องติดตั้ง OS, Web Server, Web หรือ Database ต้องทำการติดตั้งสิ่งเหล่านี้เพื่อใช้ในการทำ Application หรือ โปรแกรมต่าง  โดยที่ เราสามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง  ใน VM (Virtual Machine) นี้จะมีความยืดหยุ่นมากพร้อมกับความเสี่ยงในการจัดการ ซึ่ง Amazon EC2 เหมาะที่สุดสำหรับ การนำไปใช้ในการพัฒนา Java ใน Cloud

ผมเชื่อว่า Sun เป็นไปได้ในการแข่งขันนี้ เนื่องจากเว็บไซต์ของพวกเขา  Grid Compute Utility Network.com ซึ่งมีข้อมความที่กล่าวว่า" Network.com เป็นตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งเรายังไม่พร้อมที่จะอวดสิ่งที่เราทำ ซึ่งเรากำลังดำเนินการใน เพียงแต่ ขอให้เพียงคุณติดต่อเรามาเรา" มันทำให้รู้สึกว่า Sun พร้อมที่จะลงแข่งขันใน Cloud Computingเพราะพวกเขามีทั้งฮาร์ดแวร์ของพวกเขาเอง รวมทั้ง Solaris OS, พวกเขามี Java และพวกเขาก็ได้ MySQL มาร่วมในการพัฒนาเมื่อเร็ว ๆ นี้  ซึ่งทำให้น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ด้วย Google App Engine  คุณไม่ได้มีเครื่องเสมือน และ คุณจะไม่รับผิดชอบต่อการติดตั้ง และ บริหารจัดการซอฟท์แวร์ ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ ตอนนี้คุณจะ ถูกจำกัด โดยการใช้ Python ในรหัส app และคุณจำเป็นต้องใช้ DataStore เพื่อให้ได้ ในการใส่ข้อมูล คุณมีความรับผิดชอบในการพัฒนาและการปรับใช้โปรแกรมประยุกต์ที่คุณต้องการเท่านั้น นอกจากนี้คุณยังถูกเข้าถึงระบบได้ด้วยการ Search ผ่าน Google, Gmail และอื่น ๆ และไม่มี OS, Server, การใช้ Database ก็มีข้อเสียของการถูกจำกัด เพราะ Google ใช้ได้เพียง Python และ Datastore และในปัจจุบัน มันไม่มีสนับสนุนของ Java แต่พวกเขาอาจะทำการสนับสนุนภาษามากขึ้นในอนาคต  Google น่าจะเป็นที่สนใจมากขึ้นใน Python กว่า Java ซึ่ง Sun ยังหันมาสนใจใน Python โดยมีการทำการจ้างสองนักพัฒนาหลักของ Python ในพัฒนาการทำงานร่วมกับ Jython ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเรียกใช้ Python บน JVMได้ ซึ่งเราหวังว่า Google จะนำ Java มาเพื่อเป็นตัวเลือก App Engine หรือ ไม่อย่างน้อยก็ Jython

ผู้ให้บริการ PaaS สำหรับ Java

Stax  คือ การเริ่มต้นใหม่ที่มีการเปิดตัวในรุ่นเบต้า เพื่อบอกถึงนักพัฒนาว่า Stax นี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวา มันเป็น PaaS สำหรับ Java โดยใช้การสนับสนุนจาก Amazon EC2 เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคิดว่ามันเหมือน Google App Engine สำหรับ Java กับฐานข้อมูล MySQL ทำให้การพัฒนาภาษา Java , การใช้งาน มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคุณยังสามารทำการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของ Amazon โดยที่ไม่จำเป็น ต้องอยู่ภายใต้ โครงสร้างของ Stax เสมอไป Stax มีการใช้งานที่ง่าย และ มีการเปิดให้ทดลองใช้ระบบ มันมีในตัวแม่แบบสำหรับการประยุกต์เทคโนโลยี Java รวมทั้ง Struts, GWT, Wicket, JRuby on Rails, Jython แต่ไม่ จำกัดเฉพาะเหล่านี้ คุณสามารถปรัใช้ Web app ต่างๆ ที่ทำงานใน Web Container ผ่านทาง Stax SDK  พื้นฐานในการทำงานของ Stax  มีขึ้น เพื่อเป็นทรัพยากรที่ง่ายต่อการติดตั้งสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมประยุกต์ ของคุณและมีเครื่องมือบางอย่างสำหรับการทำและการปรับใช้กับงานต่างๆ ของคุณ Application templates เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสนใจ และ การกำหนดค่าที่น่าสนใจก็จะทำให้มีนักพัฒนามาช่วยกันวิจัยและพัฒนาระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักพัฒนามีอิสระที่จะเพิ่มBinary และ configuration files ของพวกเขาก่อนที่จะปรับให้ใช้ รวมถึงlibraries ไม่จำเป็นต้องติดตั้งใน default application template Stax จะยังให้บริการฟรี อยู่ในรุ่น Beta บริษัท ยังไม่มีแผนนำเสนอที่จะเก็บค่าใช้บริการ แต่อาจจะมีการเก็บค่าบริการในบางรุ่นเมื่อใช้เป้นรุ่นเต็มที่ไม่ใช่ Beta

คุณสมบัติของ Cloud มีข้อจำกัด Stax จะต้องทำอย่างไร

ย้ายปพลิเคชันที่มีอยู่เพื่อ Cloud

การเคลื่อนย้าย App ที่มีอยู่แล้วขึ้นอยู่กับวิธีการ ซึ่ง Applicationช่วยในการทำนั้นคือ "Cloud Friendly"  Stax ไม่คิดที่จะแข่งขันปรับเปลี่ยนการใช้งานทั่วไปของ Hosting, Stax จะเน้นอย่างมากในเรื่องของการคำนวณความยืดหยุ่นในการใช้งานทรัพยากร ซึ่งสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของโปรแกรม หมายความว่า ตัวอย่างโปรแกรมใด ๆ ที่กำหนดอาจจะเข้ามาทำงานในระบบหรือยกเลิกออกไปจากระบบเมื่อไหร่ก็ได้ ในที่นี้จะแนะนำข้อจำกัดไม่กี่ข้อ ในการออกแบบ ข้อบังคับ (Constrains) บน Application

1. การใช้งานไม่สามารถวางใจได้ บนระบบ Local File เพื่อความคงอยู่หรือมีความสำคัญ คือ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ไฟล์สำคัญเกิดการเสียหายได้

2. การใช้งานต้องหลีกเลี่ยงการพึ่งพิงหน่วยความจำหลักของเซิร์ฟเวอร์ (ยกเว้นการใช้cachingใน
which case apps just need to be designed to restore the cache from a persistent location like DB if the cache experiences a miss) ซึ่งกรณีAppsเพียงแค่ต้องได้รับการออกแบบเพื่อคืนค่า cache จากตำแหน่งใช้บ่อยอย่าง DB ถ้า cache เกิดการผิดพลาด

ซึ่งหมายความว่าความเข้ากันไม่ได้ของโปรแกรมที่มีอยู่จำนวนมากจะถูกจัดการด้วยทรัพยากรของ Stax แต่ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Spike Washburn ได้กล่าวว่า"นี้คือวิธีการยืดหยุ่นของการเขียนโปรแกรม ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จำเป็นสำหรับความต้องการของ Application ที่เพิ่มขึ้น ของโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นใน Public Cloud และ Virtualized data centers"

การตรวจสอบ,การรายงาน,การแก้จุดบกพร่องและการสนับสนุน Java Apps ใน Cloud


เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยตัวผู้ใชเอง,คุณไม่จำเป็นต้องสนับสนุนการตรวจสอบแก้จุดบกพร่อง Cloud มีความต้องการที่จะให้มีการออกแบบมาเพื่อช่วยนักพัฒนารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ของพวกเขาและจำแนกตามลักษณะการเสนอขาย  เช่น รายงานการวิเคราะห์ การตรวจสอบ และ APIs การแจ้งเตือนเป็นการออกแบบเพื่อช่วยนักพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาและทำความเข้าใจกับหัวใจของ Application และ การตอบสนองตาม แน่นอนในนักพัฒนาบางคนมักจะต้องเข้าใจ internals การใช้งานของตัวเองและบันทึกได้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้จุดบกพร่อง ของปัญหาเหล่านั้น ในการ สนทนากับนาย Washburn, เขากล่าวว่าพวกเขาจะไปปล่อยตัวตรวจสอบ และ APIs แจ้งเตือนเร็ว ๆ นี้และวางแผนที่จะให้การสนับสนุนและ คุณสมบัติอื่น ๆ 

การปรับไปใช้ในเซิร์ฟเวอร์ของโปรแกรมอื่น ๆ


Stax ถูกออกแบบมาเพื่อรุ่นของ Java Web Container(Tomcat) ที่สามารถบูรณาการกับ Cloud Computing ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง Stax เป้าหมายคือการช่วยให้นักพัฒนาประสบความสำเร็จ
ในการพัฒนาการปรับใช้ในระดับใหม่ๆ ของ Application ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ไม่เพียงแค่นี้ยังมีการปรับขนาดของ Apps เพื่อการปรับใช้บน Paas และยังให้ความยืดหยุ่นในการใช้โปรแกรมประยุกต์พัฒนาและปรับใช้ Application Containers ของ ตัวเอง นอกจาสนับสนุน ของ End-to -End life cycle
ตัวอย่างเช่น ในCloud ปัจจุบัน ธุรกิจต่างยังลังเลที่เข้ามาในการผลิต หรือ สร้าง Application ของ พวกเขา ใน Cloud ซึ่งเขาจะพิจารณาจาก Dev/test ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ Apps ทำงานใน 2สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน (Stax สำหรับการทดสอบและเลือก Apps ตามสภาพแวดล้อมเซิร์ฟเวอร์ของตนเองในการผลิต)

Java Apps With Application Container

ในขณะนี้ Stax ไม่ได้วางแผนที่จะให้การสนับสนุนในการเลือกระหว่างการใช้งานแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ ทำแต่ Tomcat Web Container เท่านั้น


***ถ้ากระผมเขียนไม่รู้เรื่อง หรือ ผิดพลาด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วย ซึ่งผมแปลมาจากบทความภาษาอังกฤษ ซึ่งผมภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงเท่าไหร่ และเขียนตามความเข้าใจของผมเอง มีข้อติ อะไรแจ้งผมได้นะครับ***

ที่มา http://broadcast.oreilly.com/2008/12/java-in-the-cloud.html 

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Clound Computing

Cloud Computing คือ การจัดการระบบที่อิงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing ซึ่งUsersอาจใช้เพียง Web browser ในการติดต่อกับซอฟต์แวร์ จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร ซึ่งUsersใช้เพียง Web browser ในการติดต่อกับโปรแกรม





Cloud Computing and Grid Computing 

  • Grid Computing คือ การที่มีคอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่อง แล้วทำการเชื่อมต่อกันด้วย ระบบ Distributed System เพื่อให้ทำงานร่วมกัน โดยการทำงานของมันนั้น จะเป้นการแบ่งงานขนาดใหญ่ เป็นงานขนาดย่อย และทำการกระจายส่งไปทำใน คอมพิวเตอร์ หลายๆเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อกันไว้ เพื่อให้เพื่อให้มีการทำงานที่เร็วขึ้น โดยทำงานเปรียบเสมือน Server หรือ Super Computer



Sun Microsystems ได้แบ่งระดับการแชร์ทรัพยากรใน Grid Computing เป็น 3 ระดับคือ
  1. Cluster Grid
  2. Campus Grid (บางที่เรียก Corperate Grid)
  3. Global Grid
ซึ่ง Cloud Computing ก็มีพื้นฐาน มาจาก Grid Computing ซึ่ง ถ้า Users ต้องการให้ Cloud ทำงานเหมือนGrid ก็สามารถจัดทำได้เลย หรือ จะทำเป็นการสร้าง Webpage ธรรมดาก็ได้ เช่น Facebook เป็นต้น ทำให้เห็นว่า Cloud สามารถทำงานได้ครอบคลุมในหลายๆอย่าง 
  •  ประโยชน์หรือสิทธิประโยชน์ในการใช้ Cloud Computing
  1. ทำให้การใช้ Hardware และ Software มีการใช้งานได้คุ้มค่ามากขึ้น 
  2. การบริการ Information ทำได้ง่ายมากขึ้น
  3. ลดการจัดการระบบ IT ที่มีความซํบซ้อน เช่น การจะจัดตั้ง ศูนย์ IT ต้องมีทั้ง Server ต้องสั่งซื้อ   Server ของแต่ระบ ทำให้ยุ่งยาก
  4. เพิ่มความเร็วในการตอบสนอง เช่น เมื่อมีการใช้ของ User ที่เยอะขึ้น Cloud จะทำการปรับตัว ปรับทรัพยากร ให้ดียิ่งขึ้น


Delivery Models

Delivery Models หรือรูปแบบในการให้บริการนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ
  • Software as a Service (SaaS) เป็นการใช้ Application ต่างๆโดยที่ไม่ต้องรู้ รายละเอียดว่า ระบบใช้ระบบเท่าไหร่ ทำงานอย่างไหร่ และ เก็บไว้ที่ไหน ตัวอย่างเช่น Google Docs เป็นต้น

  •  Platform as a Service (PaaS) เป็นการให้บริการ Platform เพื่อช่วยในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างเช่น ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นไป และใช้ทรัพยากรจาก Cloud โดยที่เราจะไม่ยุ่งกับ OS ของ Cloud เราสามารถใช้ Service ของเค้าเพื่อมาทำการพัฒนาได้เลย โดยที่ไม่ต้องสนใจ Hardware 
  • Infrastructure as a Service (Iaas) เป็นการจัดการเรื่อง ทรัพยากรของระบบ ตัวอย่างเช่น เราทำการ Request ขนาดของ Server ที่เราต้องการ เช่น เราต้องการความเร็วCPU ขนาดนี้ Ram เท่านี้ OS แบบนี้ ส่งไปให้ผู้ดูแลจัดการ Cloud ทางผู้ให้บริการก็จะจัดการจำลอง Server มาให้เรา และให้เราจัดการโปรแกรมภายในระบบเอง

Deployment Models
  • Public Cloud คือ การขอใช้บริการ Clound ของผู้ให้บริการ ซึ่งข้อมูลอาจจะเป้นแบบเปิดหรือ ถ้าเราต้องการจัดการเป็นความลับได้ หรือ ไม่เป็น Public ก็ได้เช่นเดียวกัน
  •  

    • Private Cloud คือ การสร้าง Cloud ใช้เองในองค์กรณ์ สามารถกำหนด Network Bandwidth เองได้ และ ทำให้มี Security Control ได้มากขึ้น 

      • Community Cloud คือ Cloud ที่สร้างขึ้นมาระหว่างองค์กรณ์ ที่สนใจร่วมกันหรือทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม ซึ่งกลุ่มไหนที่สนใจหรือทำงานแบบเดียวกัน ถึงจะเข้าใช้ได้
      •  Hybrid Cloud คือ การผสมกันระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud เลือกแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆได้ โดยที่มีความสามารถทั้งสองแบบ

        Essential Characteristics

            คุณสมบัติสำคัญใน Cloud ได้แก่
        1.  Rapid Elasticity ใน Cloud ต้องมีความยืดหยุ่น และ Skale การทำงานของระบบ สามารถเพิ่มลดความต้องการได้เสมอ เช่น ระบบ มี User เข้ามาใช้งานเยอะก็จะเพิ่มความเร็วโดยอาจจะจ่ายราคาสูงหน่อย แต่ถ้าระบบ มี User ใช้น้อย ก็จะใช้ระบบที่เร็วลดลง ค่าใช้จ่ายก็จะลดลงตามระบบ เป็นต้น
        2.  Measured Service มีการตรวจสอบและวัดปริมาณในการใช้งาน และมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบที่ทำงานอยู่เสมอ
        3. On-Demand Self-Service ระบบที่สมบูรณ์ ทำงานโดยที่ไม่ต้องผ่านคน เพียงเรากรอกข้อมูล ในโปรแกรมหรือ Web browser เช่น เรากรอกข้อมูลว่า ขอใช้ Server ขนาดนี้ จำนวนนี้ผ่าน โปรแกรม ก็จะมี Server มาให้ตามที่ร้องขอไป
        4. Ubiquitous Network Access คือ การเข้าใช้ Cloud หรือ เข้าถึง Cloud ได้ทุกที่ และ ทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Tablet , PDA ,PC เป็นต้น
        5.  
        Other to Terms (Related to Clound) 

        1. Interoperability  คือ ความสามารถในการให้ Cloud ระบบต่างๆใช้งานร่วมกันได้ โดยสนใจแต่ Information อย่างเดียว ไม่สนใจ Implement ว่าทำงานอย่างไร
        2. Integration เป็นกระบวนการที่รวบรวมทรัพยากรจากหลายที่ มาให้บริการ 
        3. Federation คือ การรวบรวมข้อมูลจากหลายๆระบบ เข้าด้วยกันเพื่อให้ทำงานด้วยกันได้ ซึ่งข้อมูลแต่ละที่อาจจะมีต่างกัน
        4. Service Level Agreement (SLA) คือ สัญญาระหว่าง ผู้ขอใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการให้ตามความต้องการตามข้อตกลงที่ผู้ขอใช้บริการขอ ผู้ขอใช้บริการ ก็ต้องทำตามข้อตกลงระหว่างสัญญาด้วย
        5. Broker คือ ชื่อตัวแทนกลุ่มคน ที่ไปเช่าบริการของผู้ให้บริการหลัก มาทำการปรับปรุง เพื่อมาขายหรือให้บริการต่ออีกที (พ่อค้าคนกลาง)
        6. Multi-tenancy คือ 1 Component ให้บริการหลายๆคนพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น มีเครื่อง Server 1 เครื่อง ทำการแบ่งให้กระจายให้ใช้ได้หลายๆคน โดยที่อาจจะแบ่งทำงานเป็นข้อมูลของใครของมัน
        7. Virtual Machine (VM)  ทำการจำลอง VM ใน Server แบ่งให้ใช้ได้หลายคน เพื่อลดทรัพยากรในการใช้

        การใช้ cloud computing นั้นก็มีความเสี่ยงจากภัยคุกคามเช่นเดียวกับการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ โดยทาง CSA หรือ Cloud  Security Alliance ได้ทำการสรุปประเภทของภัยคุกคามที่จะเกิดกับ  cloud computing เอาไว้  7 ประเภท ดังนี้

        1. Abuse and nefarious use of cloud computing การใช้ cloud computing ในทางที่ผิด อย่างเช่น hacker ทีจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดของ cloud เช่น แบนด์วิธ,สตอเรจ เป็นฐานในการโจมตีผู้อื่น,การส่งสแปมเมล์,การ crack encryption ต่างๆ เป็นต้น

        2. Insecure interfaces and APIs ความน่าเชื่อถือในด้าน security และ availability เนื่องจากผู้ใช้บริการจะอาศัย API ในการติดต่อกับ Backend software และเซอร์วิสต่างๆที่อยู่ใน cloud จึงอาจเป็นช่องทางที่ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้เข้าโจมตีและเข้าถึงเซอร์วิส ต่างๆได้โดยตรง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการรักษาความลับของ ข้อมูลใน cloud

        3. Malicious insiders ภัยคุกคามที่เกิดจากคนใน จากฝั่งผู้ให้บริการเอง เช่น พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกินกว่าสิทธิของตนเองที่จะเข้าถึงได้

        4. Shared technology issues เป็นปัญหาเกี่ยวกับ Software ที่ใช้ในการจัดการการแชร์ระบบและทรัพยากรต่างๆแก่ผู้ใช้เกิดความผิดพลาด หรือมี bug ทำให้เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ hacker สวมรอยเข้ามาเป็นผู้ใช้บริการ cloud แล้วทำการเจาะระบบของผู้ใช้รายอื่นผ่านทางระบบที่ตนเองใช้งานอยู่ได้

        5. Data loss or leakage การรั่วไหลของข้อมูล เนื่องจากอาจมีผู้อื่นมาใช้งานบน cloud โดยไม่ได้รับอนุญาติ

        6. Account or service hijacking การถูกขโมยใช้งานเซอร์วิสต่างๆ,การ Phishing,การถูกโจมตีตามช่องโหว่ของ software ที่ไม่ได้มีการ patch ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ผู้ใช้ใช้ password เดิมซ้ำๆอยู่นาน หรือไม่มีการเปลี่ยน password ในเวลาที่เหมาะสม

        7. Unknown risk profile เนื่องจากบริการของ cloud นั้น ทางผู้ให้บริการไม่ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของการดำเนินการภายใน เช่น การ config ระบบ,กระบวนการด้าน security,การเก็บ log file ต่างๆ ทำให้ผู้ใช้บริการมีความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าความเสี่ยงคืออะไรทำให้ไม่ สามารถเตรียมการรองรับได้
        ที่มา
        http://www.net-security.org/secworld.php?id=8943